8 ขั้นตอนและเทคนิคการใช้จานเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ
ใช้งานอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ จานเพาะเชื้อ ให้ถูกหลักเพื่องานทดสอบวิเคราะห์วิจัยที่มีคุณภาพ
ในห้องปฏิบัติการทดลองหรือห้องแล็ป จานเพาะเชื้อ ถือเป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้ประจำ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการวิจัยด้านสุขภาพอนามัย อาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ ชีวภาพ เชื้อโรค ไวรัส ต้องมีความปลอดภัย มีการวิจัยพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการทดลองแต่ละครั้ง ต้องอาศัย การเพาะเลี้ยงเชื้อ เซลล์ เนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง ความชำนาญพิเศษ ห้ามไม่ให้มีการปนเปื้อนอย่างเด็ดขาด มิเช่นนั้นจะทำให้ผลที่ได้คลาดเคลื่อน ไม่ได้ผลที่เป็นจริง มีความผิดพลาด เกิดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่อาจควบคุมไม่ได้ สำหรับบทความนี้จะพาทุกท่านไปดูถึงขั้นตอนและเทคนิคการใช้จานเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัย เกิดประโยชน์ ได้ผลตามจุดประสงค์ที่ต้องการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทดสอบ ทดลอง ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไปติดตามกันได้เลย
จานเพาะเชื้อ จานเพาะเลี้ยงเซลล์ Petri Dish ถือเป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่อยู่ในห้องปฏิบัติการทดลองหรือห้องแล็ป โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยา ใช้สำหรับเพาะเลี้ยงเซลล์ เชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรีย ยีสต์ เชื้อรา เชื้อโรค มอส เนื้อเยื่อ หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่เจริญเติบโตบนอาหารเลี้ยงเชื้อได้ เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข ป้องกันรักษาโรค ทั้งคน พืช สัตว์ และอีกหลากหลายแขนง ลักษณะเป็นจานกลมแบนตื้นทรงกระบอก โปร่งใส มีขอบสูงขึ้นมาเล็กน้อย มีฝาปิด มีหลายขนาดให้เลือกใช้ ตั้งแต่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 มม. – 200 มม. ส่วนใหญ่ในห้องปฏิบัติการทั่วไปมักใช้จานเพาะเชื้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 90 มม. ส่วนรูปทรงสี่เหลี่ยมสามารถพบเห็นได้บ้างแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ผลิตจากวัสดุแก้วหรือพลาสติก ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเลือกใช้ กรณีเป็นพลาสติกโพลีคาบอเนตมักใช้แล้วทิ้งภายในการทดสอบเดียว กรณีเป็นแก้วโบโรซิลิเกตเป็นชนิดที่ทนความร้อนได้สูง สามารถสเตอริไรส์ หรืออบฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 120 – 160 องศาเซลเซียสได้ ต้องมีการล้าง ฆ่าเชื้อ นำกลับมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งต้องระวังเรื่องการปนเปื้อนเป็นอันดับแรก จานเพาะเชื้อพลาสติกน้ำหนักเบากว่าจานเพาะเชื้อชนิดแก้ว ไม่แตกหักง่าย เคลื่อนย้าย หยิบจับได้ง่ายกว่า
8 ขั้นตอนและเทคนิคการใช้จานเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการ
การเพาะเชื้อเป็นงานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ใช้ตรวจสอบการปนเปื้อน การติดเชื้อ การแพร่กระจายของเชื้อโรค การกลายพันธุ์ การคิดค้นยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะ วัคซีน การศึกษาพันธุกรรมและประโยชน์อีกมากมายหลายด้าน จานเพาะเชื้อต้องสะอาด บริสุทธิ์ ปลอดเชื้อใด ๆ ก่อนเริ่มปฏิบัติการ ต้องห้ามเกิดการปนเปื้อนจากเชื้ออื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น มิเช่นนั้น จะทำให้การเพาะเชื้อ ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง การทดลองผิดเพี้ยน เกิดข้อผิดพลาด ไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นจริง เกิดเป็นเชื้อใหม่ ลดทอนความสมบูรณ์ของการทดสอบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายนอกเหนือการควบคุมได้ จึงต้องมีเทคนิคในการใช้งานจานเพาะเชื้อที่เหมาะสมมากที่สุด
- ฝาปิดของจานเพาะเชื้อควรครอบตัวจานได้แบบพอดีทำให้ปลอดภัย ช่วยป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อ
- พื้นผิวเรียบของจานเพาะเชื้อจะช่วยให้การเจริญเติบโต แพร่กระจายของเชื้อ เซลล์ บนวุ้นอาหารเกิดขึ้นได้ง่ายและเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
- จานเพาะเชื้อวงกลมที่มีเชื้อกระจายทั่วพื้นผิวของวุ้นอาหาร ทำให้แยกเซลล์ออกเป็นโคโลนีได้ ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์สายพันธุ์ที่แตกต่างกันอย่างเฉพาะเจาะจง
- สามารถใช้จานเพาะเชื้อทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะที่มีต่อเชื้อที่เพาะได้
- จานเพาะเชื้อที่โปร่งใส ทำให้สังเกตได้ด้วยสายตาถึงลักษณะสี พื้นผิว ขนาด รูปร่าง ของเซลล์ที่ทำการเพาะเลี้ยงได้อย่างชัดเจน
- การฆ่าเชื้อจานเพาะเลี้ยง การใช้จานเพาะเลี้ยงที่ไม่ถูกต้องอาจเกิดความเสี่ยงเรื่องสุขภาพต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้ที่สัมผัส ซึ่งเชื้อบางชนิดก่อให้เกิดโรค ต้องปฏิบัติตามระเบียบอย่างเข้มงวด ห้ามละเลยเป็นอันขาด
- จานเพาะเชื้อ มีขนาดพอเหมาะ สะดวก ง่ายต่อการใช้งาน
- ล้างทำความสะอาดจานเพาะเชื้อที่ซื้อมาใหม่ด้วยน้ำร้อนก่อน แล้วแช่ด้วยกรดไฮโดรคลอริค 1-2% เพื่อขจัดสารอัลคาไลน์ แล้วล้างด้วยน้ำกลั่น ปล่อยให้แห้งตามสภาพแวดล้อม จานเพาะเชื้อที่ไม่ได้รับการฆ่าเชื้ออาจส่งผลกระทบต่อค่า pH ของอาหารเลี้ยงเชื้อ สารเคมีที่ปนเปื้อนอาจยับยั้งการเติบโตของเชื้อหรือเซลล์ได้
- ฆ่าเชื้อจานเพาะเชื้อที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส ทำได้หลายวิธี เช่น การนึ่งหรืออบลมร้อน ก่อนนำมาเพาะเลี้ยงเชื้อ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการป้องกันการปนเปื้อน
- เทวุ้นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ลงในจานเพาะเชื้อแล้วปล่อยให้แข็งตัว
- ฉีดหรือเติมตัวอย่างที่ต้องการเพาะเลี้ยงลงในวุ้นอาหารที่แข็งตัว ใช้เครื่องกระจายเชื้อที่ปลอดเชื้อ โดยระวังการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมและตัวอย่าง
- ติดฉลากที่จานเพาะเชื้อ ระบุข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อตัวอย่าง วันที่เพาะเชื้อ เพื่อไม่ให้สลับตัวอย่างและติดตามผลได้
- บ่มจานเพาะเชื้อภายใต้สภาวะเฉพาะ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น เวลา และซีลจานเพาะเชื้อเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
- ติดตามการเจริญเติบโตของเชื้อในจานเพาะเชื้ออย่างสม่ำเสมอ จดบันทึกและวิเคราะห์ผลตามที่กำหนด
บริษัท แล็ป เมนแนจ จำกัด ศูนย์รวมจำหน่ายอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ จานเพาะเชื้อ หลอดทดลอง กระบอกตวง วัสดุอุปกรณ์ทางห้องแล็บ ห้องปฏิบัติการทางโรงพยาบาล หน่วยวิจัย รับผลิตเครื่องมือเครื่องจักรทางวิทยาศาสตร์ตามความต้องการ บริการสร้างห้องปลอดเชื้อ ตอบสนองความต้องการของห้องปฏิบัติการทุกประเภท ตอบโจทย์การวิจัยและทดลองอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณภาพ ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน ทันสมัย ราคาที่เข้าถึงได้ และการบริการที่เป็นเลิศจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
สนใจสินค้า เกี่ยวกับ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ จานเพาะเชื้อ
สามารถติดต่อ บริษัท แล็ป เมนแนจ จำกัด ได้ทุกช่องทาง
36 หมู่ 5 ตำบลคลองขวาง อำเภอ ไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 111500
Line : @lapmanage
Facebook: บจก.แล็ป แมนเนจ
โทรศัพท์ 065-9192828, 021-296-522
Email: online.lapmanage@gmail.com , Sale.lapmanage@gmail.com