วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์อย่างถูกต้อง


การทำความสะอาดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์อย่างถูกต้อง

 

อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องมือสำหรับการทดลองต้องได้รับการดูแลให้สะอาดสดใสเสมอ

ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมชาติที่สะสมมาไม่รู้จักจบสิ้น เป็นองค์ความรู้ที่เป็นระเบียบแบบแผน ความรู้เหล่านี้ได้มาจากการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มต้นขึ้นจากการสังเกตแล้วตั้งปัญหา มีสมมติฐาน ศึกษาค้นคว้า เก็บข้อมูล ทำการทดลอง แล้วจึงสรุปผล ในขั้นตอนของการทดลองนั้น ปัญหาส่วนใหญ่ที่จะกลายเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องมีการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ชุดเครื่องแก้ว กระบอกตวง ฯลฯ อุปกรณ์ เครื่องมือเหล่านี้ถือเป็นตัวช่วยสนับสนุนงานการเรียนรู้ งานทดลอง การทำงาน ทดสอบยืนยันผลหลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เป็นบทบาทสำคัญต่อการพัฒนา ช่วยให้การทำงานประสบผลสำเร็จได้ ดังนั้นการรู้วิธีการดูแลเมื่อใช้งาน รวมไปถึงวิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องไว้ด้วย เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนาน

 อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เป็นชุดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง วิจัย ตามหลักวิทยาศาสตร์ในหลากหลายสาขา มีการออกแบบเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ทดลอง ทดสอบ สามารถแยกประเภทได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น ตามการใช้งาน ประเภททั่วไป ช่วยป้องกันการทำปฏิกิริยากับสารเคมี เช่น เครื่องแก้วต่าง ๆ บีกเกอร์ กระบอกตวง เป็นต้น ประเภทเครื่องมือประกอบการทดลอง เช่น กล้องจุลทรรศน์ เวอร์เนียร์ เทอร์โมมิเตอร์ แปรงล้างเครื่องแก้ว เป็นต้น และประเภทวัสดุสิ้นเปลือง เช่น สารเคมี กระดาษลิสมัส กระดาษกรอง เป็นต้น ทั้งนี้หมายรวมถึง เครื่องมือ เครื่องจักร ขนาดเล็ก ใหญ่ เครื่องมือวัด คุม เครื่องแก้ว ที่ใช้ในการทดลองหรือวิจัยด้วย

 

ตัวอย่าง เครื่องแก้ว อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่พบได้ในห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ

  • บีกเกอร์ Beaker : ถ้วยแก้วใช้ในการตวงวัดปริมาณสาร เตรียม ผสม ต้ม สารละลาย มีหลายขนาดตั้งแต่ 50 มิลลิลิตร ถึง 5 ลิตร และมีวัสดุอื่นด้วย เช่น พลาสติก เป็นต้น แต่นิยมบีกเกอร์วัสดุแก้วมากที่สุด

  • กระบอกตวง Cylinder : กระบอกแก้วหรือพลาสติกใช้สำหรับวัดปริมาตรของเหลว สารละลาย อ่านค่าตามระดับสารละลายที่ปรากฏบนกระบอกตวง มีความแม่นยำสูง มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิลิตร ถึง 2 ลิตร

  • ขวดแก้วรูปชมพู่ Erlenmeyer Flask : ขวดแก้วลักษณะกรวย ด้านล่างขวดกว้าง ปากแคบ คล้ายลูกชมพู่ มีเส้นบอกปริมาณด้านข้างขวด เลือกใช้ขนาดระหว่าง 250 มิลลิลิตร ถึง 500 มิลลิลิตร ใช้สำหรับผสมสารละลาย เติมสาร ทดลองทางเคมี รวบรวมสาร เก็บสารละลายต่าง ๆ

  • แท่งแก้วคนสาร Glass Rod : แก้วลักษณะเป็นแท่งยาวประมาณ 10 ถึง 20 นิ้ว ด้านปลายแบน ใช้สำหรับคน หมุน ผสมสารละลายให้เป็นเนื้อเดียวกันในอุปกรณ์วิทยาศาสตร์สำหรับการทดลองอื่น ๆ หรือใช้เกลี่ย เท สารจากภาชนะให้ไหลลงตามแท่งแก้ว

  • หลอดหยด Dropper : เป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์วัสดุแก้วอีกชิ้นที่ใช้หยดหรือถ่ายสารของเหลวไปยังอีกที่ได้อย่างแม่นยำ ลักษณะเป็นหลอดแก้วเรียวปลาย มีกระเปาะยาง ใช้บีบเพื่อดูดหรือปล่อยสารของเหลวนั้น ต้องรักษาความสะอาด ไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ป้องกันไม่ให้ปลายหลอดกระทบหรือแตะกับอุปกรณ์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง

  • หลอดทดลอง Test Tube : เป็นเครื่องแก้วอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีใช้กันมากที่สุดเพื่อทดลองปฏิกิริยาทางเคมี เก็บสารละลาย ลักษณะแท่งทรงกระบอก มีทั้งแบบที่มีปากและไม่มีปาก ความยาวแตกต่างกัน

  • ตะเกียงบุนเสน Bunsen Burner : ตะเกียงสำหรับจุดเพื่อต้มสารละลายหรือสำหรับงานทดลองที่ต้องใช้เปลวไฟ ฐานหนักเพื่อรองรับตัวตะเกียงให้มั่นคง อาจมีวาล์วปรับความสูงของตะเกียงได้

 

วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์อย่างถูกต้อง

อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ใช้งานทั่วไป ช่วยป้องกันการทำปฏิกิริยากับสารเคมี เช่น เครื่องแก้วต่าง ๆ บีกเกอร์ กระบอกตวง เป็นต้น ควรได้รับการดูแลรักษา ทำความสะอาดอย่างถูกต้องหลังการใช้งาน ป้องกันการสะสมของสารเคมีและสิ่งสกปรกเจือปน อาจเกิดสารเคมี ก๊าซพิษ เกิดการระเบิดขึ้นได้ เพื่อความปลอดภัย ความแม่นยำของการทดลองในครั้งถัด ๆ ไปต้องใช้วิธีการทำความสะอาดให้ถูกต้อง โดยปกติจะสังเกตจากหยดน้ำที่เกาะบนผิวแก้ว หากยังเป็นหยดแสดงว่าไม่สะอาด น้ำที่เกาะผิวต้องเป็นฟิล์มบาง ๆ เปียกสม่ำเสมอ ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องแก้วสะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปนแล้ว

 

  • ให้ทำความสะอาดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องแก้วต่าง ๆ ทันทีหลังการใช้งาน เตรียมพร้อมสำหรับการใช้ทดลองในครั้งหน้า

  • ทำความสะอาดด้วยความระมัดระวัง เลี่ยงปัญหาการแตก ร้าว จนเป็นสาเหตุให้ใช้งานไม่ได้ แยกประเภทให้เป็นหมวดหมู่

  • เลือกใช้สารทำความสะอาดที่เหมาะสม ใช้แปรงร่วมกับสบู่ น้ำยาล้างจาน สารซักฟอก สารละลาย เป็นตัวทำความสะอาดคราบไขมัน สารเคมี สิ่งสกปรก ไม่ให้ตกค้าง ขัดล้าง หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่า น้ำประปา ออกให้หมด มิเช่นนั้นจะเกิดการปนเปื้อนรบกวนปฏิกิริยาเคมีสำหรับการทดลองได้

  • เครื่องแก้ว อุปกรณ์วิทยาศาสตร์บางชิ้น ทำความสะอาดยาก อาจต้องใช้สารละลายแช่ไว้ ซึ่งต้องทำด้วยความระมัดระวัง สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ถุงมือ แว่นตา ให้เรียบร้อย เพื่อความปลอดภัย เช่น กรดไนตริกเจือจาง ไตรโซเดียมฟอสเฟต เป็นต้น

  • หลังล้างด้วยน้ำเปล่าเสร็จแล้วให้ล้าง กลั้ว ด้วยน้ำกลั่นเพื่อขจัดสารตกค้างอีกครั้ง

  • ผึ่งให้แห้งหรือเข้าเตาอบ (ดูเป็นกรณีไป) แล้วจัดเก็บเข้าที่ให้เป็นระเบียบ รอการใช้งานครั้งต่อไป

 

สำหรับวิทยาศาสตร์แล้ว อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อวัด ทดลอง วิเคราะห์ สิ่งต่าง ๆ ทั้งในรั้วโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งในโรงงาน สำนักงาน สถานที่ทำงาน ทำให้เกิดองค์ความรู้ ความเข้าใจ มีประสบการณ์ ในการทดลอง ยืนยันสมมติฐาน เกิดการพัฒนา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้อย่างมั่นคง ดังนั้น การใช้งานที่ถูกต้อง การดูแลรักษา การทำความสะอาดอุปกรณ์วิทยาศาสตร์จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ ปลอดภัย น่าเชื่อถือ ทุก ๆ ครั้งที่ทำการทดลอง

บริษัท แล็ป เมนแนจ จำกัด เป็นตัวแทน จำหน่ายสินค้าด้านวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เครื่องแก้ว กระบอกตวง ผลิตภัณฑ์สินค้าวัสดุสิ้นเปลือง จากโรงงานชั้นนำระดับโลก ภายใต้แบรนด์สินค้า LAPMA ที่มีมาตรฐานการผลิตสินค้าที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ISO 9001 , ISO 13485   ด้วยประสบการณ์ที่มีมากกว่า 10 ปี เรามุ่งหวังให้งานวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องง่าย ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ แต่ยังคงคุณภาพ มีมาตรฐาน คุ้มค่า ในราคายุติธรรม เรายินดีให้บริการลูกค้าทุกท่านด้วยความเต็มใจ สินค้าและบริการของเราจะช่วยส่งเสริมงานและองค์กรของท่านให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นภายใต้งบประมาณที่มีอย่างจำกัด

 

สนใจสินค้า เกี่ยวกับ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เครื่องแก้ว กระบอกตวง 

สามารถติดต่อ บริษัท แล็ป เมนแนจ จำกัด ได้ทุกช่องทาง

36 หมู่ 5 ตำบลคลองขวาง อำเภอ ไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 111500

Line : @lapmanage

Facebook: บจก.แล็ป แมนเนจ

โทรศัพท์ 065-9192828, 021-296-522

Email: online.lapmanage@gmail.com , Sale.lapmanage@gmail.com